เครน ปั้นจั่น (Crane) เครน หรือ ปั้นจั่น
เครน ปั้นจั่น (Crane) เครน หรือ ปั้นจั่น เป็นเครื่องจักรสำคัญอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่ยก เครื่องจักร สินค้า หรือ วัสดุที่มีน้ำหนักมาก ขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้น ในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ โดยงานที่เราจะพบกับ เครน หรือ ปั่นจั่นได้บ่อยๆ มักจะเป็น งานก่อสร้าง งานติดตั้งเครื่องจักรในโรงงาน หรือ งานขนถ่ายคลังสินค้า ซึ่งขนาดของ เครน หรือ ปั้นจั่นก็ขึ้นอยู่กับงานด้วย
เครน หรือ ปั้นจั่น มี 2 ประเภท
รถเครน หรือ ปั้นจั่นที่เคลื่อนที่ได้ (Mobile Crane) ซึ่งรถเครน มีอุปรณ์หลักๆได้แก่ แขนบูม ขายันพื้น กว้าน ลวดสลิงเครน น้ำหนักถ่วง และ ตะขอ Mobile Crane
รถเครนล้อยาง (All Terrain Crane) เป็นรถเครนที่มีขนาดใหญ่ โดยทั่วไปแล้วเครนล้อยางจะมีขนาดตั้งแต่ 25 ตันขึ้นไป สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วคล้ายรถบรรทุก และเนื่องจากมีล้อยางขนาดใหญ่จำนวนมากทำให้ฐานมีความแข็งแรงส่งผลให้สามารถยกของหนักๆ ได้ เครนล้อยาง มีบูมเฟรมเป็นท่อน ๆ เคลื่อนที่เข้าออกภายในบูมท่อนแรก เครนล้อยาง สามารถทำงานได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ทั้งพื้นแข็ง พื้นราบเรียบ พื้นอ่อน หรือพื้นดินขรุขระ แต่สำหรับงานสมบุกสมบันเครนล้อยาง ยังเป็นรอง เครนตีนตะขาบ
รถเครน 4 ล้อ (Rough Terrain Crane) คือเครนล้อยางชนิดหนึ่ง มี 4 ล้อ เป็นรถเครนที่ออกแบบเพื่อใช้งานในสภาพพื้นที่ที่ขรุขระ หรือ พื้นที่ดินอ่อน ขับเคลื่อน 2 ล้อ หรือ 4 ล้อ มีขนาดใหญ่กว่า เครนรถบรรทุก รถเครน 4 ล้อ ชนิดนี้มีลักษณะโดดเด่นคือ ขนาดลำตัวที่สั้นทำให้สามารถเข้าถึงพื้นที่แคบได้ รวมถึงตัวเครน ที่มีขนาดตัวสั้นและ แขนเครนยาวเลยออกมาจากตัวรถ Rough Terrain Crane สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง แต่ไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องอาศัยระยะทางที่วิ่งไกลๆ
รถเครนบรรทุก (Truck Loader Crane/ Cargo Crane) หรือ บางคนเรียกว่ารถเฮี้ยบ เป็นเครนล้อยาง ที่ติดตั้งเครนเครนขนาดใหญ่เอาไว้บนรถบรรทุกขนาด 4 ล้อ 6 ล้อ และ 12 ล้อ มีขนาดให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่สิบตันไปจนถึงร้อยตัน โดยแขนเครนจะพาดยาวตลอดช่วงตัวรถ เหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่ค่อนข้างเรียบและแข็งแรง ไม่เหมาะกับดินอ่อน ความโดดเด่นของรถเครนบรรทุก หรือ รถเฮี้ยบ คือ สามารถเคลื่อที่ เข้า ออกสู่พื้นที่ทำงานได้อย่างสะดวก เนื่องจาก เนื่องจากพื้นฐานของ Truck Loader Crane เป็นรถบรรทุก สามารถเลี้ยวมุมแคบได้
รถเครนตีนตะขาบ (Crawler Crane) รถเครนที่เคลื่อนที่ด้วยล้อแบบสายพานเหล็ก หรือที่เราเรียกกันว่าตีนตะขาบ ส่วนใหญ่มีบูมเป็นแบบบูมสาน (Lattices Boom) สามารถทำงานได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่บุกเบิกใหม่ พื้นที่ยังอ่อนและ ขรุขระ ไม่ถูกบดอัด เนื่องจากล้อเป็นสายพานตีนตะขาบทำให้ยากต่อการติดหล่ม แต่ก็ต้องแลกมาด้วยข้อเสียเรื่องระยะการเดินทางระยะไกล รวมถึง แขนเครนที่ยาวและไม่สามารถหดสั้นลงได้
เครน หรือ ปั่นจั่น ที่ติดตั้งอยู่กับที่ (Stationary Crane) ซึ่งเครนประเภทนี้แบ่งย่อยได้อีกคือ
เครนหอสูง (Tower Crane) เครนหอสูง หรือ ปั้นจั่น ที่มีขนาดใหญ่มาก นิยมนำมาใช้ในการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆ เครนประเภทนี้สามารถเคลื่อนไหวได้ 6 ทิศทาง หมุนรอบตัวเอง ในแนวนอน และ ขึ้นลงในแนวดิ่ง เราสามารถพบเห็นได้บ่อยในงานก่อสร้างอาคารสูง
เครนราง (Overhead Crane) หรือ มีชื่อเรียกหลากหลาย เครนเหนือศีรษะ หรือ เครนโรงงาน เครนราง เป็นเครนสำหรับใช้งานในพื้นที่ภายในโรงงาน ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้า สามารถเคลื่อนที่ได้ 6 ทิศทาง คือ ขึ้น-ลง, ซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง, มีทั้งแบบคานคู่ และคานเดี่ยวขึ้นอยู่กับขนาดน้ำหนักที่ต้องการจะยก จะมีการติดตั้งรอกไฟฟ้าไว้ที่ด้านบนระหว่างคานสองตัว เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ยกน้ำหนักที่หนัก ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสหกรรมเคมี และโรงไฟฟ้า
เครนขาสูง หรือ เครนสนาม (Gantry Crane) คือ เครื่องจักรที่ติดอยู่บนขาสูงใช้ยกสิ่งของในแนวดิ่งและเคลื่อนที่ไปตามรางในแนวตั้งและแนวนอนคล้ายกับ Overhead Crane แต่มีความแตกต่างกันตรงที่การเคลื่อนที่ของเครนนั้นจะเคลื่อนที่ โดยล้อเลื่อนที่อยู่ที่พื้น Monorail เครนรางเดี่ยว เป็นเครนที่นิยมใช้ภายนอกอาคาร
เครนติดผนังยื่นแขนหมุน (Wall Jib Crans) ใช้สำหรับงานยก วัตถุงานหรือสินค้า เฉพาะพื้นที่รอบวงรัศมีความยาวของวงแขนที่ยื่นหมุนของชุดเครน มีการเคลื่อนที่ได้ 4 ทิศทาง ขึ้น ลง ซ้าย ขวา แต่ได้เพัยง 180-270 องศาเท่านั้น เหมาะกับงานยกไม่หนักมาก